“คุณรู้ไหม” หากคุณมีโฉนดประเภทนี้คุณก็สามารถนำมาทำธุรกรรมขอสินเชื่อได้

     อนึ่งเงื่อนไขสำคัญของสินเชื่อประเภท จำนอง หรือจำนำโฉนดที่ดิน ไม่ว่าจะเป็นสถาบันการเงินผู้ให้บริการสินเชื่อรายใดก็ตาม ซึ่งต่างก็มีวัตถุประสงค์เดียวกันต่างต้องการทรัพย์หลักประกันที่ปลอดภาระ หรือโฉนดที่ดินที่ได้โอนกรรมสิทธิ์เป็นชื่อของผู้กู้เรียบร้อยแล้วก็ดี ซึ่งวันนี้เราจะมาพูดถึงโฉนดที่ดินกันว่ามีกี่ประเภท โดยแต่ละประเภทจะมีกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิในที่ดินส่วนไหนบ้างที่แตกต่างกัน โดยปัจจุบันสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ เอกสารแสดงสิทธิ์ที่ดินสำหรับการครอบครองเพื่อทำประโยชน์ได้เท่านั้น และเอกสารสิทธิ์ที่หน่วยงานราชการออกให้ในแบบที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าว โดยโฉนดที่ดินที่เรามักจะพบเจอบ่อยครั้ง และในมุมคุณประโยชน์ที่ดินดังกล่าวยังสามารถนำไปยื่นขอสินเชื่อได้ไม่ว่าจะเป็น การขอสินเชื่อแบบจำนอง หรือจำนำโฉนด ซึ่งจะมีรายละเอียดดังนี้

โฉนดที่ดิน ประเภทแรก จะเป็น น.ส.4  ( ตราครุฑแดง )

     โฉนดที่ดิน น.ส.4 นี้ หรือปัจจุบันจะเรียกว่า โฉนดที่ดิน น.ส.4 จ. ซึ่งเป็นโฉนดที่ดินที่พบเห็นได้บ่อยครั้งที่สุด โดยผู้ครอบครองโฉนดที่ดินประเภทดังกล่าวนี้ จะมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และสามารถใช้ประโยชน์จากที่ดินผืนนั้นๆได้ตามต้องการไม่ว่าจะเป็นการ  ซื้อขาย  จำนอง  จำนำ  หรือโอนกรรมสิทธิ์ก็สามารถทำได้ทั้งสิ้น  อนึ่งกล่าวคือหลายๆคนอาจมองว่า ทำไมโฉนดที่ดิน น.ส.4 ที่มีตราครุฑแดง จึงมีทั้งโฉนดที่แยกย่อยออกเป็น นส4.ก , นส4.ข , นส4.ค , นส4.ง หรือ นส4.จ  เหตุผลคือโฉนดที่ดินแต่ละประเภทนี้ได้มีการออกตามกฎกระทรวงของปีนั้นๆไม่ว่าจะครอบครองโฉนดที่ดิน นส4. ประเภทใดก็ตาม ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์สามารถนำไป ซื้อขาย จำนอง จำนำ หรือโอนกรรมสิทธิ์ได้เหมือนกันหมด แต่สำหรับโฉนดที่ดิน นส4.จ จะเป็นโฉนดตราครุฑแดงที่เป็นฉบับล่าสุด ณ ปัจจุบัน นั่นเอง

ประเภทสองคือ โฉนดที่ดิน นส3.ก  (ตราครุฑเขียว)

     โฉนดที่ดิน นส3.ก ปัจจุบันถือได้ว่าเป็นเพียงการแสดงสิทธิครอบครองที่ดินเท่านั้น โดยเอกสารที่ทางหน่วยงานราชการออกให้แก่ผู้มีสิทธิ์ในที่ดิน จะเป็นเพียงการรับรองว่าผู้นั้นมีสิทธิครอบครองเพื่อทำประโยชน์ในที่ดินแปลงนั้น ๆ ได้เท่านั้น (แต่ไม่ได้รับรองว่าบุคคลที่มีชื่อเป็นผู้ครอบครองนั้นเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าว) โดยเอกสารที่หน่วยงานราชการออกให้จะเป็นหนังสือรับรองการเข้าทำประโยชน์ของโฉนดตามสิทธินั้นๆ ได้แก่ นส3.ก, นส3.ข, นส.3, นส2.ก ,นส2. หรือใบจอง และจะมีหนังสือแสดงความยินยอมให้เข้าครอบครองที่ดินได้ชั่วคราว จะมีใบไต่สวน หรือ นส5. ซึ่งเป็นหนังสือแสดงการสอบสวนเพื่อออกโฉนดที่ดินผืนดังกล่าวนั้นเอง  ( โฉนด นส3.ก สำหรับผู้มีชื่อเป็นผู้ครอบครองสามารถยื่นขอสินเชื่อได้เช่นกัน )

           

     “สรุปแบบย่อๆ” หากเราต้องการขอสินเชื่อประเภทหลักประกันไม่ว่าจะเป็น บ้าน,รถ หรือที่ดิน ก็ดี ให้เราศึกษาข้อมูลกันก่อนว่า “โฉนดประเภทไหนบ้างที่สามารถยื่นขอทำธุรกรรมสินเชื่อได้” ดังนั้นเมื่อเรารู้ข้อมูลแล้วสำหรับการขอสินเชื่อก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป ทว่าหากเป็นโฉนด นส.4 และนส.3ก ไม่ว่าจะเป็นที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง หรือที่ดินเปล่า ก็สามารถยื่นขอสินเชื่อได้ทั้ง 2 ประเภท แต่อย่างไรก็ดีเงื่อนไขในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อย่อมเป็นไปตามที่สถาบันการเงินกำหนดที่จะพิจารณาตามคุณสมบัติของหลักประกันนั้นๆ และซึ่ง ณ ปัจจุบันทั้งจากข้อมูลผู้ขอสินเชื่อเอง หรือทั้งในส่วนผู้ให้บริการสินเชื่อ ทว่าโฉนด นส.4 (ครุฑแดง) จะถือเป็นที่ยอมรับสำหรับสถาบันการเงินผู้ให้บริการสินเชื่อมากกว่าโฉนดประเภทอื่นๆ ทั้งอาจจะได้รับพิจารณาวงเงินที่ค่อนข้างสูง และแม้กระทั่งมีเครดิตทางหลักประกันที่ดีกว่าโฉนดประเภทอื่นๆ หากเมื่อถึงเวลาฉุกเฉินที่ต้องใช้เงินก้อนจริงๆ เป็นต้น

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : โฉนดบ้านพร้อมที่ดิน น.ส.4, น.ส.3 ก., น.ส.3, น.ส.3 ข. ต่างกันอย่างไร (ddproperty.com)